Disney Mickey Mouse Glitter

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

ภาษาธรรมชาติ (Whole Language Approach)



ความเป็นมา


การสอนภาษธรรมชาติ  หรือ การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach)
 เป็นนวัตกรรมการศึกษาแนวคิดใหม่ในการสอนภาษาแก่เด็กตามธรรมชาติ ซึ่งนำมาแก้ปัญหาการเรียนภาษาแบบท่องจำ
 โดยมีแนวคิดที่ว่า
" เด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาได้ด้วยตัวเองจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว "
โดยผ่านการพูด ฟัง อ่าน เขียน โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้นให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง ไม่ใช่การฝึกให้เด็กท่องจำเป็นคำๆ หรือสอนว่าควรอ่านก่อน ถึงจะเรียนเขียน แต่สอนให้เด็กเข้าใจความหมายของคำเป็นประโยคเพื่อใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก เหมาะสมกับวัย ความสนใจและความสามารถของเด็ก

ความหมาย

การสอนภาษาแบบธรรมชาติ หมายถึง การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนที่เน้นการสอนภาษาอย่างมีความหมายให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนภาษา เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษาในการสื่อสารภาษา ให้เด็กพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆ กัน เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำในสิ่งที่สนใจ ลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ และร่วมมือจัดการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างเด็กกับครู สร้างปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับเพื่อน ในบรรยากาศที่อบอุ่นและได้ยอมรับ


หลักการและแนวทฤษฎีที่มีอิทธิพล


  • จอห์น   ดิวอี้  กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการกระทำ และหลักสูตรควรบูรณาการให้เห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เพียเจต์  กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเอง การได้สัมผัสกับสิ่งของภายนอก และเด็กจะคิดสร้างความรู้ขึ้นภายในตน หรืออีกนัยหนึ่งเด็กจะต้องเป็นผู้กระทำ ในการเรียนรู้ การคิดดังนั้น การเรียนจึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นการรับเข้าเฉย
  • วัตสัน (Watson) กล่าวว่า ผู้สอนจะประสานแนวการสอนของตนกับองค์ประกอบทางทฤษฎี (theory) ความเชื่อ (belief) และการนําความรู้ทางทฤษฎีและความเชื่อไปปฏิบัติจริง (practice) องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์สนับสนุนกัน และกันเป็นวงจรที่ช่วยให้ผู้สอนเกิดการพัฒนาการสอนด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกตเด็กเพื่อทําความเข้าใจในความสามารถ และการแสดงออกของเด็กแต่ละคน บันทึกความก้าวหน้าของเด็กเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กได้อย่างเหมาะสม ครูจะสามารถสร้างแนวคิดเชิงปรัชญาการสอนจากการแสวงหาคําตอบ (inquiry) โดยพยายามนําทฤษฎีไปใช้ในการสอนจริง (inactive theory active) พิสูจน์ความเชื่อของตนให้ปรากฏ (unexamined belief examined) และพัฒนาการสอนขึ้นเอง (borrowed practice owned)
  • เคนเนท กู๊ดแมน (Kenneth Goodman) เชื่อว่าการสอนภาษาเป็นเรื่องสําคัญสําหรับชีวิตเด็ก และโดยที่เด็กต้องเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ครูจะต้องตระหนักในความสําคัญ ดังกล่าว และจากการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญา การรู้หนังสือ และการจัดหลักสูตร กู๊ดแมนได้รับการยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม มีผู้ให้ความสนใจนําความคิดไปใช้ในประเทศต่างๆ และมีผู้ให้การสนับสนุนเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ในช่วงปี 1970 เป็นต้นมา
  •  Jean Piaget เชื่อว่า การที่เด็กได้เคลื่อนไหวสัมผัสสิ่งต่างๆ รอบตัวจะเป็นการสร้างความรู้ขึ้นภายในตนเอง หรือ เด็กเป็นผู้กระทำ (Active) ไม่ใช่การรับเข้าไปเฉยๆ (Passive) การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากอิทธิพลของสังคมและผู้อื่น เน้นให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ ซึ่งการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับภาพ เสียงกับตัวอักษร เป็นความรู้เกี่ยวกับตัวอักษรที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการอ่านของเด็ก เชื่อว่าการสอนภาษาเป็นความสำคัญที่เด็กจะใช้เพื่อการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กและภาษามีความหมายต่อชีวิต การเรียนภาษาต้องมาจากสิ่งที่เป็นจริงและเกี่ยวข้องกับเด็ก โดยเรียนภาษาแบบองค์รวมคือ เรียน ฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกัน การสอนภาษาแบบธรรมชาติแพร่หลายในประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา สำหรับประเทศไทย มูลนิธิไทย-อิสราเอลนำมาเผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2538 – 2539 มีนักการศึกษาไทยนำไปใช้และศึกษาวิจัย

พัฒนาการด้านการเขียนตามแนวการสอนภาษาธรรมชาติ



  • ·       ขั้นที่ 1  ขีดเขี่ยเส้นยุ่งๆ ตามจินตนาการ (ระดับเตรียมอนุบาล อายุ 2-3 ปี)




  • ·       ขั้นที่ 2 เขียนโดยการทำเครื่องหมายคล้ายตัวหนังสือ (ระดับอนุบาล 1 อายุ 3-4 ปี)


  • ·       ขั้นที่ 3 เขียนโดยคัดลอกตัวอักษรและเขียนโดยวิธีสะกดขึ้นเอง (ระดับอนุบาล 2 อายุ 4-5 ปี)


  • ·       ขั้นที่ 4 เขียนสะกดคำได้ใกล้เคียงภาษาแบบแผนหรือเหมือนกับวิธีสะกดของผู้ใหญ่ 
            (ระดับอนุบาล 3 อายุ 5-6 ปี)




กระบวนการเรียนการสอนภาษาธรรมชาติ

         แนวการสอนภาษาธรรมชาติ เด็กมีความพร้อม ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาได้จากสิ่งแวดล้อมรอบด้าน ชีวิตประจำวัน ประการณ์ที่พบเจอและการเลียนแบบ ไม่เน้นให้เด็กท่องจำตัวอักษร โดยผ่านการพูด ฟัง อ่าน เขียน โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยมีครูคอยสนับสนุน
  • การฟัง – เด็กจะได้ฟังจากการเล่านิทาน การร้องเพลงนิทาน และเพลงต่างๆ ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะทางการฟังภาษาได้เป็นอย่างดี โดยเนื้อต้องถูกต้อง ร้องชัดเจน เมื่อเด็กได้ฟังแล้วเชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเข้ากับคำที่ได้ยิน เช่น เพลงลูกสัตว์ เด็กๆจะได้ยินเสียงสัตว์ต่างๆและเลียนเสียงงของสัตว์ พร้อมบอกเสียงร้องของสัตว์ได้ 
เพลง ลูกสัตว์


  • การพูด การอ่าน ครูจะตั้งคำถามเพื่อให้เด็กๆตอบ เด็กๆจะยกมือขึ้นตามคำถามและแสดงความคิด คำตอบออกมาเป็นคำพูด อาจมีการแสดงนิทานหรือการแสดงบทบาทสมมติ  การฟังครูเล่านิทานและจดจำเนื้อหาของนิทานได้ หรือเปิดโอกาศให้เด้กๆเล่าเรื่องจากภาพ สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ที่ตนเองพบเจอ แต่ครูควรเน้นให้เด็กได้เห็นภาพและเชื่อมโยงออกมาเป็นคำพูด หรือการอ่าน และการพูด การอ่านนั้นไม่มีถูกหรือผิด ครูคอยสนับสนุนให้เด็กกล้าใช้ภาษา และหากคำไหนพูดไม่ชัด ผิดเพี้ยน ครูก็จะช่วยแก้ไขให้เด็กพูดตามได้ชัดเจนแบบค่อยเป็นค่อยไป
น้องนิ้ง เด็กเล่านิทาน


  • การเขียน – เด็กได้วาดภาพตามจินตนาการ หรือตามหัวข้อที่ครูบอก เช่น การวาดภาพกล้วย การวาดภาพสัตว์และเขียนชื่อตัวเองในผลงาน อาจจะเขียนเป็นคำง่ายๆ เช่น กลัวย ลิง ปลา ไก่ นกหรือชื่อตัวเอง เด็กชายเก่ง น้องเพชร เป็นต้น อาจจะวาดรูปสัญลักษณ์ของตัวเอง การเขียนของเด็กที่เรียนแนวสอนภาษาแบบธรรมชาติจะเป็นการเขียนเชิญสัญลักษณ์ เด็กจะอาจจะเขียนสัญลักษณ์ขึ้นมาแทนคำบางคำ ดังนั้นเด็กที่เรียนแนวนี้จึงอาจจะยังเขียนไม่เป็นตัวหนังสือที่ถูกต้องแบบเด็กระดับเดียวกันในโรงเรียนอื่นที่มีการท่องจำ แต่จะค่อยๆ เรียนรู้ความหมายและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องได้เองในที่สุด




วาดภาพสัตว์ตามจินตนาการ อนุบาล 3





สภาพแวดล้อมในโรงเรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ


         ห้องเรียนจะจัดให้มีมุมที่ส่งเสริมเรื่องภาษาอย่างชัดเจน เช่น มุมห้องสมุด มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก มุมบ้าน เป็นต้น โดยทุกมุมจะมีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆ


บทบาทของครูและผู้ปกครองกับแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

ครู – ครูจะมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยให้การสนับสนุนเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเท่านั้น เช่น การจัดมุมต่างๆ ให้เด็กได้มาฝึกภาษาอย่างรอบด้าน เตรียมอุปกรณ์ให้เด็กได้ใช้อย่างอิสระและปลอดภัย ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกในการใช้ภาษา  ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กๆ เช่น อ่านนิทานให้ฟัง เล่านิทานให้ฟัง หรือถามคำถามที่ให้เด็กได้แสดงออกง่ายๆ เด็กก็จะทำตามได้ ครูไม่ควรตำหนิสิ่งที่เด็กเขียนหรืออ่าน เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ



ผู้ปกครอง - ผู้ปกครองสามารถช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้โดยการสนทนา การตั้งคำถามและการตอบคำถามเด็กอย่างสม่ำเสมอ อ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟังเป็นประจำทุกวัน ส่งเสริมให้เด็กอ่านจากสิ่งต่างๆรอบตัว เช่น ป้ายโฆษณา สินค้า ชื่อสิ่งของต่างๆ ฯลฯ จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียนในสิ่งที่เด็กสนใจผู้ปกครองควรให้กำลังใจแก่เด็กและเพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียน ไม่ตำหนิสิ่งที่เด็กเขียนหรืออ่าน เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ และผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา


สิ่งที่เด็กจะได้รับจากแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

      • เด็กจะฟัง พูด อ่าน เขียนได้โดยวิธีธรรมชาติและพัฒนาทักษะพร้อมทั้งเชื่อมโยงจากการคุ้นเคยกับหนังสือและมีประสบการณ์กับตัวหนังสือที่มาพร้อมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

      • เด็กจะมีทัศนคติที่ดีกับภาษา เพราะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง ไม่โดยบังคับให้ท่องจำ หรือมีการทำโทษเมื่อพูดผิด เขียนผิด

      • เด็กจะชินกับการเรียนรู้ภาษาจากสิ่งรอบตัว และฝึกฝนให้เป็นนักอ่าน นักเรียนรู้ภาษาที่ดี เช่น จากหนังสือพิมพ์ จากนิทาน จากข้อความบนฉลากอาหาร เป็นต้น

      • เด็กจะรู้จักการเข้าสังคม และการใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้อื่นอย่างชัดเจนและถูกต้อง

      • เด็กจะมีจินตนาการ และพัฒนาการที่สมวัย เพราะเรียนรู้จากสัญลักษณ์แทนภาษาขึ้นมาก่อนและพัฒนามาสู่การเรียนการสอนแบบอ่านออกเขียนได้ การใช้ประสบการณ์รอบตัวเป็นเครื่องมือสอนภาษาจะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุด 

สรุป

         แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ เด็กมีความสุขกับการเรียนภาษา การฟัง พูด อ่าน เขียนไม่มีการ

บังคับหรือเบื่อกับการเรียน ภาษาของเด็กจะเป็นไปตามวัย อาจพูดถูกผิดบ้าง แต่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่น

เข้าใจได้ เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันรอบๆตัวเด็กเอง เด้กเป้นคนตัดสินใจ และ

ลงมือทำด้วยตนเอง โดยมีครูและผู้ปกครองคอยให้การสนับสนุบและแนะนำอยู่ข้างๆ



วีดีโอภาษาธรรมชาติ (Whole Language Approach)


ภาษาธรรมชาติ Whole Language





ทอรัก ถักชีวิต ภาษาธรรมชาติ 1 



ทอรัก ถักชีวิต ภาษาธรรมชาติ 2




แหล่งอ้างอิง

- โรงเรียนทอรัก,การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach);http://www.taurakschool.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=196058&Ntype=2
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง,ภาษาธรรมชาติ (Whole Language Approach);http://taamkru.com/th/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/
- ปฐมวัย ภาษาธรรมชาติ Whole Language ; https://youtu.be/2y4rT9KP3s8
- ทอรัก ถักชีวิต ภาษาธรรมชาติ 1 ; https://youtu.be/RDy1vOC-9ww
- ทอรัก ถักชีวิต ภาษาธรรมชาติ 2 ; https://youtu.be/kap8k_AbyQo


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น